วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมครั้งที่ 1 เปิดโลก Computer Graphic

ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก

Graphic คืออะไร กราฟิก เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างมาก กราฟิก ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ โลโก้ กระดาษ แผ่นพับ โฆษณา


นิยามของ Graphics ศิลปะอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกด้วยความคิดอ่าน โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียน ไดอะแกรม และอื่นๆ การสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ ภาพถ่าย และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ และศาสตร์ เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิด และตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ เช่น แผนภูมิ แผนภาพโฆษณา การ์ตูน


โสตทัศนวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทำให้คนได้มองเห็นความจริง หรือความคิดอันถูกต้องชัดเจนจากวัสดุกราฟิกนั้นๆ


คอมพิวเตอร์กราฟิกส์คืออะไร คือ กราฟิกที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน


ความสำคัญของกราฟิกส์ เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย เกิดการเรียนรู้ การศึกษา เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ



ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก



พิกเซล ( Pixel)


พิกเซล (Pixel) เป็นคำผสมของคำว่า Picture กับคำว่า Element หรือหน่วยพื้นฐานของภาพ เทียบได้กับ "จุดภาพ" 1 จุด แต่ละพิกเซลเปรียบได้กับสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่บรรจุค่าสี โดยถูกกำหนดตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และแกน y หรือในตารางเมตริกซ์สี่เหลี่ยม ภาพบิตแมปจะประกอบด้วยพิกเซลหลายๆ พิกเซล







ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution )


คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่ ความละเอียดของรูปภาพ หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ถ้ารูปภาพมีความละเอียด 300 dpi เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สามารถพิมพ์ได้ 300 dpi นั่นคือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะใช้ 1 จุดสำหรับแต่ละพิกเซลของภาพ
















ความละเอียดของจอภาพ หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600














ความละเอียดของเครื่องพิมพ์ คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว เช่น ถ้าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์มีความละเอียด 300 จุดต่อนิ้ว ( dots per inch – dpi ) นั่นคือ เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ 300 จุดทุกๆ 1 นิ้ว


ความละเอียดของอิมเมจเซตเตอร์ อิมเมจเซตเตอร์ (Image setter) คือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ที่มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษถ่ายภาพ หรือฟิล์มก็ได้ โดยสามารถพิมพ์รูปภาพให้ความละเอียด 1800 dpi ถึง 3000 dpi


บิต ( BIT ) Bit ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง หน่วยความจำที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน คือ 0 หมายถึงปิด และ 1 หมายถึงเปิด หรือสีขาวและสีดำ ความลึกของบิต


( Bit Depth ) ความลึกของบิต หมายถึง จำนวนบิตที่ใช้ในแต่ละพิกเซล ในกราฟิกแบบบิตแมปสีของพิกเซลถูกบันทึกโดยใช้บิต ถ้าใช้สีมากก็แสดงสีได้มากขึ้น ถ้ามีหน่วยความจำ 2 บิต ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถใช้สีได้ทั้งหมด 2 เท่ากับ 4 สี คือ สามารถกลับสีได้ 4 วิธี คือ 00, 01,10 และ 11 ถ้ามี 2 บิต สามารถสร้างสีให้กับพิกเซลทั้งหมด 4 เฉดสี












ระบบสี ( Color Model )


ระบบสี Additive ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Additives สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB ดังนี้






























ระบบสี Subtractive


ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง
















เวกเตอร์ (Vector)


ภาพประกอบเวกเตอร์นั้นจะใช้สมการทางคณิตศาสตร์ เป็นตัวสร้างภาพโดยรวมเอกออปเจ๊กหลายๆ ชนิดมาผสมกันเป็นรูปต่างๆ กันได้มากมาย ภาพเวกเตอร์จะมีความละเอียดในการแสดงสูงมาก ไม่ว่าเราจะย่อหรือขยาย จะไม่ทำให้ภาพเพี้ยนไปได้ แต่การแสดงผลจะช้ามาก ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ เช่น Adobe Illustrator , Macromedia Freehand , Corel Draw เป็นต้น รูปแบบของไฟล์ กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File) ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group) ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)


ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว ไฟล์สกุล

















GIF (Graphics Interlace File) จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation) จุดด้อย แสดงสีได้เพียง 256 สี ไฟล์สกุล


GIF (Graphics Interlace File)ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและ แสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace) GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส ( Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษ โดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว


ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นอีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี 1. ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) 2. ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ 3.ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง


ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)


ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) จุดเด่น ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำ แต่ก็มีข้อเสีย คือ เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะ ต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสม กับภาพแต่ละภาพ


ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics) จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace) สามารถทำพื้นโปร่งใสได้ ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics) จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาด ของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4 ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย


Transparent Feature หมายถึงคุณลักษณะของภาพ ที่มีการดรอป ( Drop) การแสดงสีที่ต้องการ มักจะเป็นสีพื้น (จริงๆ เลือกสีได้มากกว่า 1 สี) เพื่อให้สีที่เลือกโปร่งใส และแสดงผลตามสีพื้นของ Browser





















Interlace Feature หมายถึงคุณลักษณะของการแสดงผลแบบโครงร่าง และค่อยๆ แสดงแบบละเอียด โดยใช้หลักการแทรกสอดของเส้นสี โดยปกติการแสดงผลภาพบนอินเทอร์เน็ต จะแสดงผลไล่จาก ขอบบนของภาพจนถึงขอบล่าง ซึ่งมักจะแสดงผลช้ามาก เพราะ ต้องรอให้แต่ละส่วนแสดงผลครบทุกความละเอียด














Interlace Feature






































Interlace Feature การนำเสนอแบบโครงร่าง ( Progressive) การนำเสนอแบบโครงร่างของไฟล์ . JPG แตกต่างกับไฟล์ . GIF คือ อาศัยการแสดงผลแบบโครงร่างด้วยภาพความละเอียดต่ำ แทนการนำเสนอแบบเส้นสี ลักษณะของภาพแบบนี้จึงจะแสดงผลโดยมีลักษณะของภาพโครงร่างทั้งภาพ ที่มีจุดของภาพเบลอๆ แล้วค่อยๆ กระจายจุดภาพให้เต็มทั้งภาพ


ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก


1. Photo Retouching โปรแกรมที่เหมาะสำหรับการแก้ไข ตกแต่งภาพ และ ทำเอฟเฟกต์ให้กับภาพ ที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจจะ มาจากภาพถ่ายจริง ได้แก่ Adobe PhotoShop, Corel Photopaint, PaintShop















2. Graphic Illustrator โปรแกรมสำหรับการออกแบบงานกราฟิก หรืองาน Lay out ซึ่งเป็นงาน สองมิติ มีการเขียนรูปในลักษณะการเน้น เส้นเน้นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งไม่ ใช่รูปถ่ายได้แก่ Adobe Illustrator, CorelDraw















3. Computer Aided Design โปรแกรมสำหรับการเขียนภาพที่แสดงออกถึงมิติ ขนาด ที่ ให้ความชัดเจน ของวัตถุที่ต้องการสร้างขึ้นมา ได้แก่ Auto CAD, Prodesign

















4. 3D Photo Realistic โปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ ที่มีมวลและปริมาตร และมีคุณสมบัติของพื้น ผิว จนเกิดความสมจริงของแสง และเงา ได้แก่ 3D studio MAX, Auto CAD 3D

















5. Presentation โปรแกรมกราฟิก สำหรับช่วยในการนำเสนองาน ใน ลักษณะเป็นสไลค์ประกอบคำ บรรยาย มีการสร้างภาพ กราฟฟิกที่ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น กราฟชนิดต่าง ๆ หรือ การสร้างแผนผังการจัดองค์กร โปรแกรมประเภทนี้ ส่วนมากใช้ในงานธุรกิจ

















6. Animation เป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวตามลำดับ โปรแกรมจะ แสดงภาพเป็นลำดับให้ แลดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว โดย อาจมีเทคนิคต่างๆ ประกอบการแสดงภาพเช่น การซ้อน ภาพ , เลื่อนภาพ, การเลื่อนภาพให้หายไปได้ และ การ แปลงภาพ รวมถึงมีลักษณะการโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วย

















ความคาดหวังของรายวิชา


1. สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน


2.ทำให้มีความสามารถในการทำกราฟิก